วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ “ การสืบค้นข้อมูล ”


สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ การสืบค้นข้อมูล

         "การสืบค้น" (Retrieval) ตามความหมายในวิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร์ หมายถึง การสืบเสาะค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะได้รับคำตอบในรูปของบรรณานุกรม ต้นฉบับเอกสาร คำตอบที่เฉพาะเจาะจง ตัวเลข หรือข้อความของเรื่องนั้น "การสืบค้น" หรือ "การสืบค้นข้อมูล (Informationretrieval)" เป็นคำที่ใช้กันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงห้องสมุดและสารสนเทศ ซึ่งก็คือ "การค้นหาข้อมูล"ในที่นี้ความหมายเน้นหนักไปทางด้านการค้นหาข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้นประเภทที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของห้องสมุด ฐานข้อมูล CD-ROM/DVD ฐานข้อมูลออนไลน์ Internet และ search engine ต่าง ๆ เป็นต้น


ประเภท Search Engine
1. Keyword Index  เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในWeb Pageที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว การค้นหาข้อมูลโดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
2. Subject Directories   การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละWeb Pageการค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง 
3. Metasearch Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) 

เทคนิคการสืบค้นข้อมูล 
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) และการค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search)
1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search) เป็นการค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง (Author)  ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject Heading)  คำสำคัญ (Keywords) 
2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด  ได้แก่
 2.1 การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT
2.2 เทคนิคการตัดคำ (Truncation) 
                                2.3 เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit Search) หรือการใช้



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอน/วิธีการค้นหาข้อมูล

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
ความหมายของ search engine
Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
ประเภทของ search engine
1.  แบบอาศัยการเก็บข้อมูลเป็นหลัก (Crawler-Based Search Engine)
                หลักการนี้เป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Crawler-Based Search Engine เป็นเครื่องมือที่ทำการบันทึกและเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเภท Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันซึ่งการทำงานประเภทนี้ จะใช้โปรแกรมตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Web Crawler หรือ Spider หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Search Engine Robots หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า บอท ในภาษาไทย www คือเครือข่ายใยแมงมุม ตัวโปรแกรมเล็ก ๆ ตัวนี้ก็คือแมงมุมนั่นเอง โดยเจ้าแมงมุมตัวนี้จะทำการไต่ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยไต่ไปตาม URL ต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมโยงอยู่ในแต่ละเพจ แล้วทำการ Spider กวาดข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กับ Search Engine แต่ละที่ว่าต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง) แล้วเก็บลงฐานข้อมูล การใช้โปรแกรมกวาดข้อมูลแบบนี้ จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำ และสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้เร็วมาก Search Engine ที่เป็นประเภทนี้ เช่น Google Yahoo MSN
                2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory)
                Search Engine ที่เป็นแบบนี้มีอยู่หลายเว็บไซต์มาก ๆ ที่ดังที่สุดในเมืองไทย ที่เอ่ยออกไปใครใครคงต้องรู้จัก นั้นก็คือที่สารบัญเว็บของ Sanook.com ซึ่งหลาย ๆ คนคงเคยเข้าไปใช้บริการ หรืออย่างที่ Truehits.com เป็นต้น สิ่งที่เราจะสังเกตเห็นจาก Search Engine ประเภทนี้ก็คือ ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นทั้งหมด ว่ามีเว็บอะไรบ้างอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากประเภทแรก ที่หากคุณไม่ค้นหาโดยใช้คำค้น หรือ Keyword แล้ว คุณจะมีทางทราบเลยว่ามีเว็บไซต์อะไรอยู่บ้าง และมีเว็บอยู่เท่าไหร่ แบบสารบัญเว็บไซต์ จะแสดงข้อมูลที่รวบรวมเว็บไซต์ที่มีทั้งหมดในฐานข้อมูล และจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ และอาจจะมีหมวดหมู่ย่อย ซึ่งผู้ค้นหาข้อมูลสามารถคลิกเข้าไปดูได้ หลักการทำงานแบบนี้ จะอาศัยการเพิ่มข้อมูลจากเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์เว็บ หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วน Search Engine เป็นผู้หาข้อมูลเว็บไซต์มาเพิ่มในฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลในส่วนของสารบัญเว็บไซต์จะเน้นในด้านความถูกต้องของฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะถูกตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ดูแล
                3. แบบอ้างอิงในคำสั่ง Meta Tag (Meta Search Engine )
                Search Engine ประเภทนี้จะอาศัยข้อมูลใน Meta tag ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่อยู่ในแท็ก HEAD ของภาษา HTML ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลกับ Search Engine Robots
Search Engine ประเภทนี้ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server ของที่อื่น ๆ ซึ่งข้อมูลจะมาจาก Server หลาย ๆ ที่ ดังนั้น จึงมักได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่ไม่แม่นยำ ตัวอย่างเว็บที่ใช้งานประเภทนี้ metacrawler.com


เทคนิคการสืบค้นข้อมูล
               เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศผ่านระบบออนไลน์
                ปัจจุบันสารสนเทศที่จัดเก็บผ่านระบบออนไลน์มีมากขึ้นตามกระแสของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ วารสาร หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ก็ได้รับการจัดเก็บแบบออนไลน์ทั้งสิ้น   การสืบค้นสารสนเทศจึงจำเป็นต้องมีเทคนิคเพื่อให้ได้ข้อมูลที่กระชับ ตรงกับความต้องการมากขึ้น ดังนั้นเราจึงขอเสนอเทคนิคการสืบค้นสารสนเทศที่ทำให้การค้นหามีประสิทธิภาพ  ได้ข้อมูลตรงตามความต้องการมากขึ้น เรามาดูกันเลยว่ามีแนวทางการสืบค้นอะไรกันบ้าง
1. สิ่งที่กำลังค้นคืออะไร ?
                นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากเนื่องจากการสืบค้นสารสนเทศผ่านระบบออนไลน์จำเป็นต้องทราบจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ถ้าเราทราบความต้องการแล้วให้เราทำการลิสต์คำสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เราจะทำออกมาก่อนให้มากที่สุด เช่น ถ้าเราต้องการจะทำงานวิจัยเรื่อง “I/O Technology in PC based on SUN SPARC, IBM RISC, Intel Itanium Series”  เมือไรได้เป้าหมายและเรื่องที่เราจะสืบค้นมา สิ่งที่ต้องทำ คือ ให้ลิสต์คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ต้องการสืบค้นให้ได้มากที่สุด เช่น Input Output Technology, SUN SPARC Architecture, RISC IBM, Reduce Instruction Set  IBM, Intel Itanium Series architecture เป็นต้น
2. แหล่งสารสนเทศตามสาขาที่เราต้องการมีอะไรบ้าง ?
                เมื่อได้คำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราต้องการจะค้นแล้ว ต่อไปให้ทำการสำรวจแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสขาที่เราค้น เช่น ถ้าเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็จะใช้ ฐานข้อมูล ACM, ฐานข้อมูล IEEE, ฐานข้อมูล Emerald, ฐานข้อมูล Wiley, ฐานข้อมูล NetLibrary เป็นต้น หรือ จะเป็น Search Engine  อย่าง Google และตัวอื่นๆก็ได้ แต่การค้นหาจาก Search Engine จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นขยะมาก ดังนั้นควรจะใช้ฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับดีกว่าเนื่องจากให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและข้อมูลทั้งหมดผ่านการตรวจสอบโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของแต่ละสาขา
3. ดำเนินการสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่ต้องการ
               
สำหรับเทคนิคการสืบค้นสารสนเทศผ่านฐานข้อมูลออนไลน์มีดังนี้
                1. การสืบค้นอย่างรวดเร็ว (ฺBasic Search / Quick Search)
                                เป็นการสืบค้นอย่างรวดเร็ว  เอาข้อมูลกว้างๆที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรากำลังสืบค้น อาจจะค้นหา              จาก ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หัวเรื่อง คำสำคัญ เป็นต้น
                2. การสืบค้นขั้นสูง (Advanced Search)
เป็นการสืบค้นข้อมูลที่เจาะจงมากขึ้น เช่น เจาะจงช่วงที่ต้องการ เจาะจงเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ หรือ การค้นแบบผสมคำค้น เป็นต้น ซึ่งเทคนิคการสืบค้นแบบผสมคำค้นหรือ Boolean เป็นเทคนิคที่ฐานข้อมูลมีทุกฐาน ซึ่งมีรายลเอียดดังนี้
                                การค้นแบบผสมคำค้นหรือ Boolean
                                เป็นการผสมคำค้นกับตัวเชื่อมต่างๆ เช่น
                                                - AND : ผลการค้นจะปรากฏคำค้นที่ใส่ไปทั้งสองคำ
                                ตัวอย่าง: Input Technology AND IBM RISC
                                ผลลัพธ์ที่ได้ : ผลการค้นจะปรากฏคำค้นที่ใส่ไปทั้งสองคำ เช่น  Input Technology on  IBM  RISC
                                                - OR  : ผลการค้นจะปรากฏคำค้นที่ใส่ไปคำไดคำหนึ่งเท่านั้น
                                ตัวอย่าง : SPARC Architecture OR Output Technology
                                ผลลัพธ์ที่ได้ :  ผลการค้นจะปรากฏคำค้นที่ใส่คำใดคำหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ  เช่น Output Technology Architecture based on Intel Centrino หรืออาจจะได้ Output Technology based on SPARC Architecture in Database Query
                                                - NOT : ตัดคำค้นที่ไม่ต้องการแสดงออกไป ทำให้ผลการค้นแคบลง เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
                                ตัวอย่าง (ก่อนใช้ NOT) SPARC Architecture AND Output Technology
                                ผลลัพธ์ที่ได้ : Output Technology based on SPARC Architecture in Database Query
                                ตัวอย่าง (หลังใช้ NOT) :  (SPARC Architecture AND Output Technology)  NOT  “Database Query”
                                ผลลัพธ์ที่ได้ : Output Technology based on SPARC Architecture
3. เทคนิคเพิ่มเติม
- การใช้ “-------“  จะมีประโยชน์ตอนที่เราต้องการค้นหาคำที่เป็นกลุ่มคำ แต่ต้องการให้ระบบ
ตีความคำนั้นเป็นชื่อเดียวกัน เช่น “Database Query” ก็จะหมายถึง Database Query ไม่ใช่ Database และ Query
- การใช้วงเล็บ (----)  จะมีประโยชน์เพื่อควบคุมผลการค้นให้แสดงตามลำดับในกรณีที่ใช้
คำเชื่อมมากๆและต้องการเงื่อนไขที่เจาะจงมากขึ้น เช่น (SPARC Architecture AND Output Technology) NOT “Database Query”  จะหมายความว่า ให้เอาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ SPARC Architecture และ Output Technology แต่ไม่ต้องการเรื่อง Database Query



อ้างอิง : 
    - บุญดี  บุญญากิจและคณะ(2548).การจัดการความรู้…จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพ-บริษัทจิรวัฒน์  เอ็กซ์เพรส  จำกัด.
    - ผศ.ดร.ชัชวาล  วงษ์ประเสริฐ(2548).การจัดการสารสนเทศเบื้องต้น.กรุงเทพ-บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ต  จำกัด.
    - Mining the World Wide Web : an information search approach /( George Chang … [et al.]. 2001 : 8)

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ

สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ


กลุ่มที่ 1 : บทบาทของการจัดการความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
            ได้รับทราบเกี่ยวกับความหมายของคำว่านวัตกรรม คือ  การรวมตัวกันของความรู้ทั่วไปเพื่อให้เกิดเป็นความรู้ใหม่  เพราะในปัจจุบันนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทมาในชีวิตประจำวัน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือองค์กรต่างๆ  และสิ่งที่สร้างช่วยให้เกิดการสร้างนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การจัดการความรู้ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมเป็นอย่างยิ่ง โครงสร้างวิธีการในการจัดการความรู้คือ การจัดการสร้างความรู้ การใช้งานร่วมกันและใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถให้กับองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้จะเกิดขึ้นใน 3 ระดับคือ ระดับบุคคล ระดับทีม และระดับองค์กร โดยสามารถแก้ปัญหาได้แบบองค์รวมผสมผสานความหลากหลายมุมมองคือ มุมมองทางกระบวนการ มุมมองทางวัฒนธรรม และมุมมองทางเทคโนโลยี โดยทั้งหมดจะมีสัดส่วนที่เท่ากัน

กลุ่มที่ 2 : จัดการความรู้และนวัตกรรม 
          ได้ทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างรูปแบบการทำงานที่จะช่วยองค์กรในการสร้างคุณภาพนวัตกรรมและการจัดการความรู้ในธุรกิจของตน   การจัดการความรู้ถูกนำมาเป็นกิจกรรมที่ผ่านมาที่มีการ Harnessed เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในกระบวนการนวัตกรรม 

กลุ่มที่ 3 : การสร้างระบบการจัดการความรู้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการฝึกอบรม
                   ระบบการจัดการความรู้นั้นเป็นสิ่งที่กำลังเข้ามามีความสำคัญมากต่อบุคคลทุกคน ทุกอาชีพ  สำหรับเราที่เป็นผู้เรียนนั้น  มันเป็นเหมือนตัวช่วยทำให้การเรียนการสอน  ตัวผู้เรียนเองเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงที่สุด  และการสร้างระบบการจัดการความรู้ เป็นส่วนสำคัญในการยกระดับประสิทธิผลสำหรับการเรียนและการฝึกอบรมโดยใช้ระบบเหล่านี้มาเป็นตัวช่วย
                  การจัดทำระบบการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น เราควรที่จะสนับสนุนให้ผู้ใช้คิดอย่างมีเหตุผล และเรียนรู้วิธีที่ง่ายต่อการสนับสนุนการตัดสินใจ  การแก้ไขปัญหาและการส่งต่อความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำเอาระบบการจัดการความรู้มาใช้ในการฝึกอบรมตัวบุคคลและระบบพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ  เราควรที่จะออกแบบ เอาใจใส่เพื่อเป็นหลักการเรียนรู้ที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีที่สุด

กลุ่มที่ 4 : การสร้างคุณค่าผ่านรายได้ของลูกค้า
            รูปแบบที่จะช่วยให้เงินทุนของลูกค้านั้นที่จะรวมอยู่ในทุนมนุษย์ของ บริษัท ในการออกไปฝึกที่ไม่ได้ตอนนี้  รูปแบบการแสดงขั้นตอนสำคัญที่จำเป็นสำหรับการประปาในอ่างเก็บน้ำ ความรู้ของ บริษัท ลูกค้าและการนี้จะเพิ่มศักยภาพสำหรับรายได้มากขึ้น  บริษัท ที่ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าด้านไอทีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถให้ บริการลูกค้าประจำสนใจกับโอกาสในการเข้าวงในของ บริษัท ที่มีความรู้และเสนอความคิดสร้างสรรค์ทำให้เกิดคำถามและคำตอบของแบบสอบถาม ให้กับลูกค้าอื่น ๆ ของบทนี้จะเรียกว่าลูกค้ารายได้จากการได้มา  สถาปัตยกรรมที่สำคัญ บริษัท จำเป็นต่อการดำเนินการ CDRจะมีการอธิบายและกรณีศึกษาการใช้วิธีการที่คล้ายกันจะถูกนำเสนอในการยืมการ สนับสนุนสำหรับวิธีการใหม่นี้เพื่อทุนของลูกค้าที่จะนำมาใช้ในระดับที่กว้าง ขึ้นเพื่อดึงค่ามากขึ้นสำหรับ บริษัท


KM Model :โมเดลการจัดการความรู้ (Knowledge Management Model)

KM Model :โมเดลการจัดการความรู้ (Knowledge Management Model)



การจัดการความรู้(Knowledge Management)
           การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
 โมเดลการจัดการความรู้(Knowledge Management Model) : KM Model
            ในการเขียน โมเดลการจัดการความรู้หรือ Knowledge Management Model : KM Model นั้น
เราสามารถที่จะเขียนกระบวนการจัดการความรู้ได้เป็นโมเดลรูปแบบต่างๆ เช่น โมเดลช้าง โมเดลบ้าน โมเดลไข่ โมเดลไก่ ซึ่งก็อยู่แต่ละผู้เขียนว่า ผู้เขียนนั้นนำการจัดการความรู้นั้นไปใช้กับสิ่งใด อาชีพใด ซึ่งก็จะได้โมเดลการจัดการความรู้ที่แตกต่างกันออกไป
            แต่ที่เห็นได้ชัดที่สุดและบ่อยที่สุดนั่นก็คือ โมเดลการจัดการความรู้ที่เป็น โมเดลการจัดการความรู้รูปปลาทู ที่นำการจัดการความรู้ไปกำหนดไว้ในส่วนของโมเดลการจัดการความรู้ ของปลาทูทั้งโมเดลส่วนหัว โมเดลส่วนตัว และโมเดลส่วนหาง ดังโมเดลการจัดการความรู้ด้านล่าง



“ โมเดลปลาทู  เป็นโมเดลการจัดการความรู้อย่างง่าย ที่เปรียบการจัดการความรู้เป็นโมเดล (Model) เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ
          1. โมเดลการจัดการความรู้ส่วน หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) 
หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย หัวปลานี้จะต้องเป็นของ คณกิจหรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี คุณเอื้อและ คุณอำนวยคอยช่วยเหลือ
          2. โมเดลการจัดการความรู้ส่วน ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) 
เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง คุณอำนวยจะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ คุณกิจมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว คุณกิจพร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
          3.  โมเดลการจัดการความรู้ส่วน หางปลา” (Knowledge Assets-KA) 
                 เป็นส่วนของ คลังความรู้หรือ ขุมความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสม เกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัวปลาซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ หางปลานี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

อ้างอิง  : KM Model : โมเดลการจัดการความรู้  (Knowledge Management). [ออนไลน์]. [ม.ป.ป.].  เข้าถึงได้จาก : http://it-social.blogspot.com/2011/01/knowledge-management-model.html  [6 เมษายน 2554] 

เครื่องมือและวิธีการจัดการความรู้


เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM Tools)


1. ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice-CoP)
เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพึงพอใจ ความสนใจและพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ
2. การใช้ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง (Mentoring Programs)
เป็นวิธีการพัฒนาความสามารถพนักงาน ซึ่งส่วนมากจะมุ่งเน้นที่พนักงานใหม่ที่จำเป็นต้องมีการสอนงานอย่างรวดเร็ว เพื่อสามารถปฏิบัติงานได้ในเวลาอันสั้น โดยการมอบหมายให้พี่เลี้ยงเป็นผู้แนะนำและสอนวิธีการทำงานให้
3. การทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Action Review-AAR)
คือ การอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมจึงเกิด จะรักษาจุดแข็งและปรับปรุงจุดอ่อนอย่างไร ส่งผลให้ทีมและสมาชิกได้เรียนรู้จากทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
4. การเสวนา (Dialogue) 
การทำ Dialogue เป็นการปรับฐานความคิด โดยการฟังจากผู้อื่นและความหลากหลายทางความคิดที่เกิดขึ้น ทำให้สมาชิกเห็นภาพที่ใกล้เคียงกัน หลังจากนั้น เราจึงจัดประชุมหรืออภิปรายเพื่อแก้ปัญหาหรือหาข้อยุติต่อไปได้โดยง่าย และผลหรือข้อยุติที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการที่เราเห็นภาพในองค์รวมเป็นที่ตั้ง
5. ฐานความรู้บทเรียนและความสำเร็จ (Lesson Learned and Best Practices Databases)
การจัดการองค์ความรู้ในองค์กรได้มีการจัดเก็บองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ทั้งในรูปแบบของความสำเร็จ ความล้มเหลวและข้อเสนอแนะในเรื่องที่สนใจ โครงการ หรือกลุ่มที่ปรึกษา ตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรในช่วงยุคต้นๆ ของการจัดการความรู้ การที่มีศูนย์กลางความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้พนักงานทั้งองค์กรสามารถเข้ามาเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง หากเราสามารถดำเนินการได้ดี ฐานองค์ความรู้นี้จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
6.  แหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence-CoE)
เป็นการกำหนดแหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence) หรือทราบว่าจะสามารถติดต่อสอบถามผู้รู้ได้ที่ไหน อย่างไร (Expertise Locators) จึงเป็นอะไรที่มากกว่ารายชื่อผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน
7. การเล่าเรื่อง (Story Telling) 
เรื่องราวที่บอกเล่าทำให้ผู้ฟังเข้าไปร่วมอยู่ในความคิด มีความรู้สึกเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่เล่า มีความต้องการที่จะหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาเรื่องราวและความคิดต่างๆ ในเรื่องที่เล่านั้นกลายเป็นของผู้ฟัง ผู้ฟังมิใช่เป็นเพียงผู้สังเกตภายนอกอีกต่อไป 
8.  เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) 
เป็นการประชุมซึ่งเชิญสมาชิกจากทีมอื่น มาแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจให้แก่ทีมซึ่งต้องการความช่วยเหลือ ผู้ที่ถูกเชิญมาอาจจะเป็นคนที่อยู่ในองค์กรอื่นก็ได้
9.  เวที ถาม-ตอบ (Forum) 
เป็นอีกหนึ่งเวทีในการที่เราสามารถโดยคำถามเข้าไป เพื่อให้ผู้รู้ที่อยู่ร่วมใน Forum ช่วยกันตอบคำถามหรือส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นช่วยตอบ หากองค์กรมีการจัดตั้ง ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice-CoP) หรือมีการกำหนด แหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence-CoE) แล้ว คำถามที่เกิดขึ้นสามารถส่ง/ยิงเข้าไปใน Forum ซึ่งอยู่ใน CoP หรือ CoE เพื่อหาคำตอบ ในลักษณะ “Pull Information”
10. อื่นๆ (Others)
    • สมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages)  จะเหมือนกับสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองที่เราคุ้นเคยกัน
– แหล่งที่มาของความรู้ ประเภทของความรู้ และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านขององค์กร  รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่สําคัญๆ
– สร้างความเชื่อมโยงระหว่างคนที่ต้องการใช้ข้อมูลกับแหล่งข้อมูลที่มี
     • การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน (Cross-Functional Team)
– เป็นการจัดตั้งทีมเพื่อมาทำงานร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
– การแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดความรู้ระหว่างทีม  จะทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น
– หัวหน้าทีมควรมีการสร้างบรรยากาศที่ดี
– ควรมีการจดบันทึกหรือรวบรวมความรู้ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันไว้ด้วย
     • การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) และการยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน (Secondment)
– การสับเปลี่ยนงานเป็นการย้ายบุคลากรไปทำงานในหน่วยงานต่างๆ
– ซึ่งอาจอยู่ภายในสายงานเดียวกันหรือข้ามสายงานเป็นระยะๆ
– เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
– ผู้ถูกยืมตัวถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเองให้หน่วยงาน
– ในขณะเดียวกันผู้ถูกยืมตัวก็ได้เรียนรู้จากบุคลากรในหน่วยงานอื่น  ซึ่งสามารถนํามาพัฒนางานของตนเอง  หรือสร้างความรู้ใหม่ๆ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)



เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้  หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร  ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1)   การบ่งชี้ความรู้ เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร , ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร
2)   การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3)   การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต
4)   การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5)   การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6)   การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7) การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น  เกิดระบบการเรียนรู้จาก                                         สร้างองค์ความรู้ > นำความรู้ไปใช้ > เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง





อ้างอิง  : 
         เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM Tools). [ออนไลน์]. [ม.ป.ป.].  เข้าถึงได้จาก : http://210.246.198.6/kmweb/index.php?option=com_content&view=article&id=102:kmtool&catid=83:interesting-km-article&Itemid=109    [6 เมษายน 2554] 
            วิภาดา  เวทย์ประสิทธิ์. เครื่องมือการจัดการความรู้. [ออนไลน์]. [ม.ป.ป.].  เข้าถึงได้จาก :  http://share.psu.ac.th/file/klangduen.p/56-KM+tools+slide.pdf.    [6 เมษายน 2554]
         วิธีการจัดการความรู้. [ออนไลน์]. [ม.ป.ป.].  เข้าถึงได้จาก : http://203.157.19.120/km_ict/?p=392    [6 เมษายน 2554]