วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

KM Model :โมเดลการจัดการความรู้ (Knowledge Management Model)

KM Model :โมเดลการจัดการความรู้ (Knowledge Management Model)



การจัดการความรู้(Knowledge Management)
           การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
 โมเดลการจัดการความรู้(Knowledge Management Model) : KM Model
            ในการเขียน โมเดลการจัดการความรู้หรือ Knowledge Management Model : KM Model นั้น
เราสามารถที่จะเขียนกระบวนการจัดการความรู้ได้เป็นโมเดลรูปแบบต่างๆ เช่น โมเดลช้าง โมเดลบ้าน โมเดลไข่ โมเดลไก่ ซึ่งก็อยู่แต่ละผู้เขียนว่า ผู้เขียนนั้นนำการจัดการความรู้นั้นไปใช้กับสิ่งใด อาชีพใด ซึ่งก็จะได้โมเดลการจัดการความรู้ที่แตกต่างกันออกไป
            แต่ที่เห็นได้ชัดที่สุดและบ่อยที่สุดนั่นก็คือ โมเดลการจัดการความรู้ที่เป็น โมเดลการจัดการความรู้รูปปลาทู ที่นำการจัดการความรู้ไปกำหนดไว้ในส่วนของโมเดลการจัดการความรู้ ของปลาทูทั้งโมเดลส่วนหัว โมเดลส่วนตัว และโมเดลส่วนหาง ดังโมเดลการจัดการความรู้ด้านล่าง



“ โมเดลปลาทู  เป็นโมเดลการจัดการความรู้อย่างง่าย ที่เปรียบการจัดการความรู้เป็นโมเดล (Model) เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ
          1. โมเดลการจัดการความรู้ส่วน หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) 
หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย หัวปลานี้จะต้องเป็นของ คณกิจหรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี คุณเอื้อและ คุณอำนวยคอยช่วยเหลือ
          2. โมเดลการจัดการความรู้ส่วน ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) 
เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง คุณอำนวยจะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ คุณกิจมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว คุณกิจพร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
          3.  โมเดลการจัดการความรู้ส่วน หางปลา” (Knowledge Assets-KA) 
                 เป็นส่วนของ คลังความรู้หรือ ขุมความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสม เกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัวปลาซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ หางปลานี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

อ้างอิง  : KM Model : โมเดลการจัดการความรู้  (Knowledge Management). [ออนไลน์]. [ม.ป.ป.].  เข้าถึงได้จาก : http://it-social.blogspot.com/2011/01/knowledge-management-model.html  [6 เมษายน 2554] 

1 ความคิดเห็น: